บทความนี้ขอเสริมเรื่องความสำคัญของตัวอักษรคันจิอีกสักหน่อย เพราะบางคนไม่เข้าใจว่าทำไมยังต้องใช้ตัวอักษรคันจิอีกทั้งที่ญี่ปุ่นได้คิดตัวอักษรของตัวเองขึ้นมาแล้ว จริง ๆ แล้วตัวอักษรคันจิทุกตัวสามารถเขียนเป็นคำอ่านด้วยอักษรฮิรางานะได้ทั้งหมด แต่ตัวอักษรฮิรางานะมีแค่ไม่กี่ตัวเสียงภาษาญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่เสียงแต่คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นมีเยอะเป็นพัน ๆ คำ รูปประโยคเองก็ไม่มีเว้นวรรคจะมีแค่จุดวงกลมไว้ท้ายประโยคเวลาจบประโยคเท่านั้น
ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไมยังคงต้องใช้อักษรคันจิร่วมด้วย เราลองมาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า
ประโยคที่เขียนด้วยตัวอักษรฮิรางานะเท่านั้น
きのう、わたしとともだちがタイレストランへたべにいきました。
ประโยคที่มีตัวอักษรคันจิร่วมด้วย
昨日、私と友達がタイレストランへ食べに行きました。
คำแปล : เมื่อวานฉันกับเพื่อนไปทานอาหารที่ร้านอาหารไทย
อักษรญี่ปุ่น
เมื่อลองเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นว่าประโยคที่เขียนด้วยตัวอักษรฮิรางานะ อย่างเดียวนั้นประโยคจะยาวดูวุ่นวายชอบกล แถมยังอ่านยากอีกต่างหาก แต่พอเขียนโดยใช้อักษรคันจิประโยคจะสั้นลง อ่านง่ายมากขึ้น ด้วยตัวอักษรคันจิเองเป็นอักษรรูปภาพใครที่เรียนภาษาญี่ปุ่น ฟัง พูด อ่าน เขียน จะเข้าใจ เพราะแค่เรามองตัวคันจิเราก็จะจับได้ว่าประโยคนี้ต้องการจะสื่ออะไร แต่ถ้าเขียนด้วยตัวอักษรฮิรางานะอย่างเดียวบอกคำเดียวอ่านแล้วมึนกว่าจะเข้าใจความหมายต้องใช้เวลานานพอดูเลยทีเดียว
สมัยตอนเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ ไม่เข้าใจว่าทำไมอาจารย์ต้องบังคับให้เขียนให้ท่องคันจิแถมมีทดสอบทุกวันอีกต่างหาก ตอนนี้ดีเข้าใจถ่องแท้แล้วค่ะอาจารย์ แต่ปัจจุบันโอกาสในการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยลายมือมีน้อยเหลือเกินทำงานก็ใช้แต่คอมพิวเตอร์ในการเขียน เวลาแปลเอกสารก็แปลในไฟล์คอมพิวเตอร์ นาน ๆทีจะมีโอกาสได้เขียนมือบ้าง พอจะเขียนก็นึกไม่ออกเสียงั้น แต่อาการนี้ไม่ได้เป็นแค่คนต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น คนญี่ปุ่นเองก็เป็นเหมือนกัน
และความสำคัญของคันจิอีกข้อหนึ่งก็คือ ภาษาญี่ปุ่นมีคำพ้องเสียงเยอะมากถ้าไม่ดูตัวอักษรคันจิ เราอาจจะเข้าใจความหมายผิดได้ง่าย ๆ บางครั้งล่ามหนูดีเองไม่เข้าใจว่าคนญี่ปุ่นจะสื่ออะไรขอให้เขียนคันจิให้ดูก็มี ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างคำพ้องเสียงกันดีกว่า
คำพ้องเสียง
จากคำตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าอ่านตามตัวอักษรฮิรางานะคำทั้งสามคำอ่านเหมือนกัน แต่ความหมายนั้นคนละความหมายกันเลย ด้วยเหตุเองนี้อักษรคันจิจึงมีความสำคัญในภาษาญี่ปุ่นค่ะ